fbpx

[บทความพิเศษ] Update ข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี 2557 ครบถ้วนเสร็จทุกกระบวนความ!!!

โพสต์เมื่อ: 04 ม.ค. 2014

ป้ายกำกับ: , , ,


เนื่องจากเมื่อเร็วๆนี้ทางสภาวิชาชีพบัญชีได้แจ้งให้ทราบว่า ข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี จำนวน 5 ฉบับ ประกอบด้วยเรื่อง สมาชิก ผู้สอบบัญชี ผู้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชี ค่าบำรุงสมาชิกและค่าธรรมเนียม และ CPD ได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2556 และมีผลใช้บังคับแล้วจ้าาาาาาาา

ร่าง

ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของ @TAXBugnoms (ใคร??) ที่จะมา Update เรื่องราวดีๆของการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ (เหรอ??) ให้กับแฟนเพจและบรรดามิตรสหายแฟนบล็อกทราบข้อมูลว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้มีเรื่องราวอะไร ที่ไหน อย่างไรบ้าง โดยประกาศทั้งหมด 5 ฉบับประกอบด้วย ข้อบังคับดังต่อไปนี้ครับ

1. ข้อบังคับสภาฯ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการเข้ารับการฝึกอบรมหรือเข้าร่วมประชุมสัมมนาของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต พ.ศ. 2556 มีผลบังคับใช้วันที่ 1 มกราคม 2557
http://www.fap.or.th/images/pulldown_1362926157/regu_method%202556.pdf

2. ข้อบังคับสภาฯ ว่าด้วย หลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต พ.ศ. 2556 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
http://www.fap.or.th/images/pulldown_1362926157/regu_spec%202556.pdf

3. ข้อบังคับสภาฯ ว่าด้วย หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และคุณสมบัติของผู้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชี พ.ศ. 2556 มีผลบังคับใช้วันที่ 1 มกราคม 2557
http://www.fap.or.th/images/pulldown_1362926157/regu_terms%202556.pdf

4. ข้อบังคับสภาฯ ว่าด้วย สมาชิก พ.ศ. 2556 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
http://www.fap.or.th/images/pulldown_1362926157/ragu_member%202556.pdf

5. ข้อบังคับสภาฯ ว่าด้วย ค่าธรรมเนียมและค่าบำรุงสมาชิก พ.ศ. 2556 มีผลบังคับใช้วันที่ 1 มกราคม 2557
http://www.fap.or.th/images/pulldown_1362926157/ragu_rate%202556.pdf

สำหรับเพื่อนๆพี่ๆน้องๆที่สนใจสามารถดาวน์โหลดเอกสารข้างต้นมาอ่านได้เลยครับ แต่ @TAXBugnoms ขอแอบกระซิบบอกเบาๆว่า การ Update บล็อกครั้งนี้ เราได้ผู้ใหญ่ใจดีอย่าง คุณอุดม ธนูรัตน์พงศ์ ผู้เป็น Audit Partner แห่งบริษัท เอเอ็นเอส ออดิท จำกัด ช่วยกรุณาแบ่งปันข้อมูลสรุปของข้อบังคับทั้ง 5 ฉบับมาทางอีเมลล์ให้กับผม ว่าข้อบังคับสภาวิชาชีพทั้ง 5 ฉบับนั้น มีผลกระทบโดยสรุปกับเราๆท่านๆผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ดังต่อไปนี้ครับ !!!

สำหรับ “ผู้ฝึกหัดงาน”

1. ต้องเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี
2. ต้องสำเร็จการศึกษาโดยหลักสูตรต้องผ่านวิชาการบัญชีไม่น้อยกว่า 4 รายวิชา และวิชาสอบบัญชีไม่น้อยกว่าหนึ่งรายวิชา รวมทุกวิชาไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต
3. ต้องฝึกหัดงานไม่น้อยกว่า 3 ปีแต่ไม่เกิน 5 ปี นับจากวันที่ยื่นคำขอแจ้งการฝึกหัดงาน และมีเวลาฝึกหัดงานรวมกันไม่น้อยกว่า 3,000 ชั่วโมง
4. ต้องยื่นคำขอแจ้งการฝึกหัดงาน พร้อมด้วยหนังสือรับรองสถาบันการศึกษา สำเนาปริญญาหรือประกาศนียบัตร
5. ต้องทำรายงานการฝึกหัดงานยื่นต่อคณะกรรมการปีละหนึ่งครั้งนับจากวันยื่นคำขอ โดยให้ยื่นภายใน 2 เดือนนับจากวันสิ้นเดือนที่ครบกำหนดในแต่ละปี พร้อมด้วยคำรับรองการฝึกหัดงานของผู้ให้การฝึกหัดงาน มิฉะนั้นถือว่าไม่มีการฝึกหัดงานในปีนั้น

การทดสอบวิชาชีพสอบบัญชี

หัวข้อการทดสอบวิชาชีพบัญชี ได้แบ่งเป็น 6 วิชา คือ

1. วิชาการบัญชี 1
2. วิชาการบัญชี 2
3. วิชาการสอบบัญชี 1
4. วิชาการสอบบัญชี 2
5. วิชากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี 1
6. วิชากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี 2

โดยสามารถเก็บสะสมผลการทดสอบแต่ละวิชาที่สอบผ่านได้ไม่เกิน 4 ปีนับจากวันที่ผ่านทดสอบแต่ละวิชา

และในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงนั้น กรณีที่ผู้เข้าทดสอบสอบผ่าน หรือยังสอบไม่ผ่านวิชาการสอบบัญชี 1 และวิชาการสอบบัญชีที่ประมวลผลโดยคอมพิวเตอร์ต้องดำเนินการดังนี้

1) สอบไม่ผ่านทั้งวิชาการสอบบัญชี 1 และวิชาคอมพิวเตอร์ฯ è ต้องสอบวิชาการสอบบัญชี 1 ตามข้อบังคับใหม่ และเนื้อหาใหม่

2) สอบผ่านวิชาคอมพิวเตอร์ฯหรือวิชาการสอบบัญชี 1 แล้ว è สามารถเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง è สอบวิชาการสอบบัญชี 1 ตามข้อบังคับใหม่และเนื้อหาใหม่ หรือ สอบตามข้อบังคับเก่า คือ สอบวิชาการสอบบัญชี 1 สำหรับผู้ที่ผ่านวิชาคอมพิวเตอร์ฯ หรือสอบวิชาคอมพิวเตอร์ สำหรับผู้ที่ผ่านวิชาสอบบัญชี

หมายเหตุ : การเลือกสอบดังกล่าวจะสามารถทำได้ไม่เกินระยะเวลาสะสมผลการทดสอบของวิชาการสอบบัญชี 1 หรือวิชาคอมพิวเตอร์

สำหรับ “ผู้สอบบัญชี”

1. ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตผู้สอบบัญชีเปลี่ยนเป็นปีละ 2,000 บาท
2. ชั่วโมงอบรมชั่วโมง CPD เป็นปีละ 18 ชั่วโมง

และทั้งหมดนี้คือข้อสรุปสำคัญๆ ทั้งหมดของการเปลี่ยนแปลงข้อบังคับใหม่ของสภาวิชาชีพบัญชี และถือเป็นเรื่องสำคัญมากๆสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพที่ควรรู้ และถ้าหากใครเห็นว่ามีประโยชน์ ขอความกรุณาช่วยกัน Like และ Share บทความนี้ให้เพื่อนร่วมวิชาชีพด้วยนะคร้าบบบบบบบ

error: เว็บไซต์ป้องกันการ copy