fbpx

[Event] SCB Investment Symposium 2013 : รู้รอบทิศ พิชิตการลงทุน By TaxBugnoms

โพสต์เมื่อ: 13 ก.ย. 2013

ป้ายกำกับ: , , , ,


เนื่องด้วยผมได้รับเกียรติจากทาง SCB Thailand Facebook (อีกครั้ง) ให้เข้าร่วมงาน “SCB Investment Symposium 2013 : รู้รอบทิศ พิชิตการลงทุน” หลังจากที่เคยเข้าร่วมมาแล้วในงาน “SCB Investment Symposium Thailand Outlook 2013” ไปเมื่อช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2556 ที่ผ่านมา

สำหรับงานในคราวนี้จัดขึ้นเมือวันที่ 10 กันยายน 2556 ที่ห้องคริสตัลฮอลล์ โรงแรมพลาซ่า แอทธินี โดยเป็นงานสัมมนาเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนักลงทุนเกี่ยวกับภาพรวมของเศรษฐกิจและทิศทางการลงทุน ผ่านการปาฐกถาพิเศษและการเสวนาของวิทยากรผู้ทรงเกียรติของประเทศไทย อันได้แก่

SCB Investment Symposium: รู้รอบทิศ พิชิตการลงทุน

1. ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ รองผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ให้เกียรติบรรยายพิเศษในหัวข้อ “ทิศทางเศรษฐกิจไทย”
2. คุณจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้มุมมองเกี่ยวกับ “ทิศทางตลาดทุน รู้เรื่องหุ้น และการลงทุนไทย”
3. คุณศุภชัย เจียรวนนท์ กับการให้ข้อมูลภาพรวมของธุรกิจโทรคมนาคม ในสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ผลกระทบ ความน่าสนใจ ทิศทาง และอนาคตของธุรกิจโทรคมนาคม
4. คุณโชติกา สวนานนท์ กับคำแนะนำลงทุนอย่างมีประสิทธิ์ภาพ ลงทุนอย่างไรให้ได้กำไรสูงสุด
5. คุณณัฐธีร์ โกศลพิศิษฐ์ นักแสดงและผู้ประกาศข่าวมาให้ประสบการณ์เกี่ยวกับ “มุมมองนักลงทุน ความกังวลเรื่องการลงทุนเรื่องปีหลัง รวมทั้งเทคนิคการลงทุนอย่างชาญฉลาด”

โดยทั้งหมดนี้ดำเนินรายการโดย คุณชลพรรษา นารูลา (ผู้น่ารัก อิอิ)

SCB Thailand
(ขอบคุณภาพประกอบจากทาง SCB Thailand ด้วยนะครับ)

หลังจากนี้จะเป็นเรื่องราวเนื้อหาการบรรยายที่ผมพยายามสรุปมาให้ฟังนะครับ ขออนุญาตสรุปเป็นข้อๆ ตามที่จับใจความมาได้ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆทุกคนไม่มากก็น้อยนะครับ แต่ยังไงก็อย่าลืมว่า “การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน” ด้วยนะคร้าบบบบบบ

“ทิศทางเศรษฐกิจไทย” โดย “ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ”

001

1. “ทิศทางเศรษฐกิจไทย” ในปัจจุบันมีความผันผวนสูง ทำให้เปรียบเทียบกับเหตุการณ์ที่ผ่านมาได้ลำบาก เช่น ถ้าดูปี 2555 จะเห็นว่าเศรษฐกิจไทยเติบโตสูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2554 แต่จริงๆแล้วเพราะมีเหตุการณ์น้ำท่วม

2. รูปแบบโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยไม่สมดุล เนื่องจากมีการพึ่งพาการ “ส่งออก” ที่สูงกว่าด้านอื่นๆ เมื่อเปรียบเทียบกับ การบริโภค, การลงทุนของภาคเอกชน และการลงทุนของภาครัฐบาล โดยมีตัวฉุดรั้งคือ การนำเข้า (Import)

3. จากผลของรูปแบบโครงสร้างที่ไม่สมดุลเลยทำให้ มีเหตุการณ์อะไรมากระทบเศรษฐกิจโลกก็ย่อมจะกระทบเศรษฐกิจ เนื่องจากการพึ่่งพาการส่งออกในข้อ 2.

002

4. ในปี 2555 ที่ผ่านมา เศรษฐกิจโดยรวมเติบโตได้นั้นมาจากการบริโภคของภาคเอกชน ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายรัฐบาลที่กระตุ้นการใช้จ่าย เช่น โครงการรถคันแรก ทำให้แม้ว่าภาพรวมการส่งออกแย่ลง แต่เศรษฐกิจก็ยังเติบโตได้

5. ปี 2556 การเติบโตชะลอลง เพราะเศรษฐกิจโลกโดยรวมยังแย่อยู่ ประกอบกับปีนี้มีการบริโภคที่น้อยลง ทำให้เกิดปัญหาตามมา เมื่อการเติบโตของเศรษฐกิจช้าลง ภาคเอกชนจึงชะลอการลงทุน มองว่าถ้าหากทางภาครัฐมีนโยบายเร่ง/กระตุ้นการลงทุน น่าจะช่วยพยุงเศรษฐกิจได้

6. ปกติแล้วเศรษฐกิจที่เติบโตมีผลมาจากการใช้จ่ายของภาคเอกชน แต่เป็นธรรมดาที่ปีที่แล้วมีการใช้จ่ายค่อนข้างมากแล้ว ปีนี้ย่อมที่จะชะลอลงตามปกติ ส่วนทางด้านการผลิต โครงสร้างการผลิตส่วนใหญ่พึ่งพาอุตสาหกรรมค่อนข้างมาก ดังที่เห็นได้ว่าปีก่อนเติบโตเพราะอุตสาหกรรมการบริโภค และ ยานยนต์

7. ข้อดีของเศรษฐกิจไทยคือ “ฟื้นตัวได้เร็ว” เพราะมีเสถียรภาพทั้งในประเทศโดยดูได้จาก

– แรงงานในประเทศที่แข็งแกร่ง คนไทยมีอัตราว่างงานเพียงแค่ 0.7% ถือว่าน้อยมาก ถ้าหากเศรษฐกิจมีการฟื้นตัว จะไม่มีผลกระทบจากความผันผวนด้านนี้ เพราะถ้าคนว่างงานเยอะ หมายความว่า คนตกงานย่อมจะใช้จ่ายลดลง มันจะส่งผลลามไปถึงการบริโภคในประเทศ แสดงให้เห็นว่าถ้าหากยังมีการจ้างงาน ยังไงๆก็ไม่กระทบการบริโภค เพราะคนมีงานทำย่อมที่จะกล้าใช้จ่ายเป็นธรรมดา
– ประเทศไทยมีอัตราเงินเฟ้อต่ำ ล่าสุดอัตราเงินเฟ้อ 1.6% ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (เดือนสิงหาคม) 0.8% ตัวนี้คือ KPI ของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งจะเห็นได้ว่าไม่มีแรงกดดัน และแปลว่าธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถใช้เครื่องมือ/นโยบายทางการเงินเพื่อช่วยเหลือเศรษฐกิจได้ (ลดอัตราดอกเบี้ย)

8. มาดูเสถียรภาพต่างประเทศว่าเป็นอย่างไรบ้าง

– ดุลบัญชีเดินสะพัด (รายรับ-รายจ่าย) ในช่วงที่ผ่านมาตั้งแต่ ปี 40 เรามีดุลบัญชีเดินสะพัด(ทั้งปี)เป็นบวกตลอด
– ปัจจุบันหนี้ระยะสั้นมีน้อยกว่าทุนสำรองของประเทศ แสดงให้เห็นว่าที่ผ่านมาธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถบริหารจัดการได้ดี สังเกตว่าช่วงไตรมาส 2 หุ้นลงเยอะ แต่เงินบาทไม่ออกเพราะธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการได้

003

9. แนวโน้มเศรษฐกิจระยะสั้น : ปีนี้เศรษฐกิจประเทศไทยคงเติบโตไม่ได้มาก เห็นได้ว่า GDP แผ่วมาเหลือเพียง 3.8 แต่ว่าควรดูว่ามีปัจจัยสนับสนุนและปัจจัยเสี่ยงอะไรบ้าง

– เศรษฐกิจอเมริกา ญี่ปุ่นและยุโรปยัง “ฟื้น” ไม่มาก ผลยังไม่กระทบมาถึงประเทศไทย จะมองเห็นว่าเศรษฐกิจไทยชะลอตัว แต่สัญญาณในการส่งออกของบางอย่าง เช่น อิเล็คทรอนิกส์ ที่มีการส่งออกไปเมกาและยุโรปเริ่มมีสัญญานบวก
– ด้านเศรษฐกิจโลกมี “โอกาส” จากสัญญานเล็กๆว่าเศรษฐกิจอเมริกาอาจจะ “ฟื้น” ซึ่งจะเริ่มเป็นผลให้ประเทศอื่นๆฟื้นตัวตามมา
– สิ่งที่เกิดขึ้นผ่านมาตลาดเงินกับภาคการผลิตไปคนละทาง เมื่อไรที่เศรษฐกิจอเมริกาดี หุ้นตกเลย แต่ท้ายที่สุดพื้นฐานเศรษฐกิจมองว่าต้องกลับมาอยู่ดี แม้ตอนนี้ผลจากการฟื้นตัวยังไม่กลับมาทันที แต่ก็ยังคงมีความเสี่ยงเรื่อง QE อยู่
– ตลาดหลักทรัพย์ของเมืองไทยถือว่า “เล็กมาก” การที่ต่างชาติเค้าซื้อหุ้นไทยเพิ่มขึ้น เพราะมองว่าเศรษฐกิจแข็งแกร่ง แต่เวลาที่เค้าเอาเงินออกนั้นจะ ออกหมด แล้วค่อยมาดูอีกทีตอนที่เข้า “รอบสอง” ว่าจะอยู่แน่ๆไหม
– อนาคตเศรษฐกิจโลกจะมีการผันผวนเยอะมาก เพราะเม็ดเงินที่ไหลเข้าๆออกๆ
– การท่องเที่ยวขยายตัวเกินกว่า 20% ซึ่งช่วยเศรษฐกิจไทยได้เยอะมาก
– อัตราการว่างงานในประเทศต่ำ (ตามข้อ 7)
– ฐานะการเงินภาคเอกชนค่อนข้างมั่นคง มี D/E Ratio ต่ำมากๆ เช่นเดียวกันกับฐานะทางการเงินของธนาคารไทยยังคงสูงมากเช่นเดียวกัน
– ฐานะการคลัง หนี้สาธารณะของไทยอยู่ที่ 44% (มาตรฐานโลกอยู่ที่ประมาณ 60%) ซึ่งเพียงพอที่รัฐจะลงทุนได้

10. ปัจจัยเสี่ยงให้ระวังเรื่อง “การเมือง” ทั้งในไทยและต่างประเทศ ซึ่งจะทำให้เกิดการผันผวนของเงินค่อนข้างมาก

11. เศรษฐกิจระยะยาว เน้นว่า เราต้องมองหา “โอกาส” และมอง “อนาคต” ใหัออกว่ามีอะไรจะเติบโบ้าง

– โครงสร้างเศรษฐกิจยังคงไม่ได้เปลี่ยนเร็วมาก แต่สิ่งที่เห็นคือแนวโน้มการค้าขายในภูมิภาคมีมากขึ้น มีการพึ่งพาระหว่างกันมากขึ้น กระจายตัวมากขึ้นในอาเซียน เช่น CLMV (เขมร-ลาว-เมียนม่า-เวียดนาม) พบว่ามีการส่งออกต่างประเทศเยอะขึ้นมาก มากกว่ายูโรโซนเสียอีก ซึ่งตัวพวกนี้จะมีบทบาทในการทดแทนความผันผวนของเศรษฐกิจโลก
– การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน “จำเป็นมาก” ภาครัฐต้องลงทุนมากขึ้น (ถ้าไม่ลงทุนวันนี้จะเอาวันไหนมาลงทุน) ทุกวันนี้เราพึ่งพาการส่งออกเหมือนกับการแขวนตัวเองบนเส้นด้าย ดังนั้น “การลงทุน” คือตัวสำคัญ ถ้าหากภาครัฐเข้ามาลงทุนระยะสั้นเราได้การก่อสร้าง แต่ระยะยาวจะช่วยลดต้นทุนให้เอกชนสามารถแข่งขันได้ และถ้าหาก พรบ. 2 ล้านล้าน มีความชัดเจน ถ้าเห็นภาครัฐลงทุนแน่นอน เอกชนย่อมจะลงทุนตาม (Crowing in Effect)
– สัดส่วนการลงทุนลดลง ที่ผ่านมาประเทศไทยแทบจะไม่ลงทุนอะไรเลย และต่อให้เราไม่ทำอะไรหนี้ต่อรายได้ (GDP) ก็สูงขึ้นอยู่ดี (รายได้ลดลง >> GDP ก็ลดลง >> ดังนั้นหนี้ต่อ GDP ก็สูงขึ้น) ทางเลือกคือการลงทุนวันนี้ให้เอกชนแข่งขันได้ เพราะประเทศไทยโตจาก “บุญเก่า”

12. ในอนาคต มองว่าการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาคจะมีมากขึ้น สัดส่วนของเมืองจะต้องขยายตามการพัฒนาของเศรษฐกิจ แต่อย่างไรก็ตามมองว่าโครงสร้างพื้นฐานเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก เพื่อที่เศรษฐกิจภูมิภาคจะได้เติบโตมากขึ้นในระยะยาว

 

error: เว็บไซต์ป้องกันการ copy