[ภาษี] ทำธุรกิจอย่างไรให้ประหยัดภาษีแบบฝุดๆ [2]
หลังจากที่จบไปแล้วในบทความ [ภาษี] ทำธุรกิจอย่างไรให้ประหยัดภาษีแบบฝุดๆ [1] เมื่อเราตัดสินใจเลือกรูปแบบของธุรกิจไปแล้ว ต่อจากนี้ก็เป็นเรื่องสำคัญที่เราควรจะมารู้กันต่อในเรื่องของภาษีกันบ้างว่า ภาษีประเภทใดบ้างที่มีความเกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจ
โดยปกติแล้วเราจะสามารถแบ่งประเภทของภาษีได้ 2 ประเภท คือ ภาษีทางตรง และ ภาษีทางอ้อม
ภาษีทางตรง คือ ภาษีที่มีการเรียกเก็บเงินจากเราโดยตรงและไม่สามารถผลักภาระให้กับใครได้เลย ซึ่งตัวอย่างของภาษีทางตรงนี้ก็คือ ภาษีเงินได้ นั่นเอง ซึ่งแบ่งออกเป็น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยมีอัตราภาษีเปรียบเทียบกันได้ดังนี้
ภาษีทางอ้อม คือ ภาษีที่เราสามารถผลักภาระภาษีทั้งหมดไปให้กับผู้บริโภคได้ โดยประกอบด้วยภาษีหลักๆ 3 ประเภท ได้แก่
ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากการบริโภคผ่านการซื้อสินค้าหรือใช้บริการจากธุรกิจต่างๆ
ภาษีธุรกิจเฉพาะ หรือ SBT เป็นภาษีที่มีการจัดเก็บจากธุรกิจเฉพาะอย่าง เช่น ธนาคาร ประกันชีวิต โรงรับจำนำ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
อากรแสตมป์ เป็นภาษีที่มีการจัดเก็บในรูปแบบของสแตมป์ เมื่อมีการจัดทำสัญญาหรือเอกสารหลักฐาน ด้วยอัตราที่แตกต่างกันออกไปตามประเภทที่กฏหมายได้กำหนดไว้
แบบแสดงรายการกับการยื่นเสียภาษีสำหรับคนทำธุรกิจ
โดยปกติแล้ว แบบแสดงรายการภาษีต่างๆนั้น จะมีชื่อเรียกมากมายให้เกิดความสับสนอลหม่านวุ่นวายมากสำหรับคนที่เริ่มต้นทำธุรกิจใหม่ๆ @TAXBugnoms จึงได้สรุปออกแบบแสดงรายการภาษีแต่ละประเภท ออกมาง่ายๆตามประเภทของภาษีส่วนใหญ่ ออกมาดังนี้ครับ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
นำส่งด้วยแบบ ภ.พ. 30 ภายในวันที่ 15 เดือนถัดไปภาษีหัก ณ ทีจ่าย
นำส่งด้วยแบบ ภ.ง.ด. 3 กรณีหักบุคคลธรรมดา และ ภ.ง.ด. 53 กรณีหักนิติบุคคล ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปภาษีเงินได้นิติบุคคล
ภาษีครึ่งปี – นำส่งด้วย แบบ ภ.ง.ด. 51 ภายใน 2 เดือนหลังจากสิ้นรอบบัญชีครึ่งปี
ภาษีทั้งปี – นำส่งด้วย แบบ ภ.ง.ด. 50 ภายใน 150 วันหลังจากสิ้นรอบบัญชีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (กรณีประกอบธุรกิจ)
ภาษีครึ่งปี – นำส่งด้วย แบบ ภ.ง.ด. 94 ภายในวันที่ 30 กันยายนของทุกปี
ภาษีทั้งปี – นำส่งด้วย แบบ ภ.ง.ด. 90 ภายในวันที่ 31 มีนาคมของปีถัดไป
และแล้ว สำหรับบทความชุด “ทำธุรกิจอย่างไรให้ประหยัดภาษีแบบฝุดๆ” ในตอนที่สองนั้น ก็ขอจบลงเพียงแต่เท่านี้ สำหรับเพื่อนๆพี่ๆน้องๆ คนไหนที่มีคำถาม รบกวน Comment ไว้ที่กล่องข้อความด้านล่างได้เลยครับ และขอย้ำอีกครั้งว่า การทำธุรกิจที่ดีนั้น ถ้าไม่จำเป็นแล้วล่ะก็ ไม่ควร!! หลบเลี่ยงภาษีอย่างเด็ดขาดคร้าบบบบบบ